เพียบ-ปัญหาแพทย์-วงการแพทย์ และแพทยสภา
ในการประชุมใหญ่สมาชิกแพทยสภาครั้งแรกรอบ ๕๐ ปี






วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุม sapphire ๑๐๘-๑๑๐ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี แพทยสภา โดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา และ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล 2 กรรมการแพทยสภารับเลือกจากแพทย์ในทีมพลังแพทย์ เป็นผู้รับผิดชอบการประชุมใหญ่แพทย์ โดยผู้ดำเนินรายการประชุมแพทย์ ซี่งเป็นสมาชิกแพทยสภา มีแพทย์หลากหลายสาขา เช่น สูตินรีแพทย์ จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ ENT ฯลฯ จากสังกัดต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน โรงเรียนแพทย์ และแพทย์ผู้ปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยในจังหวัดต่างๆ ที่ได้สละเวลาเข้าประชุม ราว ๑๐๐ ท่าน ในการนี้ มี ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา และ ศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร เป็นประธานภาคเช้าและบ่ายตามลำดับ มี นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการรักษาการเลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รายงานกิจการแพทยสภา ให้สมาชิกแพทย์ ได้ทราบ และซักถามได้ โดย มีแพทย์วิทยากรที่ได้รวบรวมปัญหาของแพทย์มาหารือประชุมกัน เช่น นพ.รังสรรค์ บุตรชา ศัลยแพทย์โรงพยาบาลปทุมธานี ได้ยกประเด็นว่าแพทย์หลายท่าน มีข้อข้องใจในการดำเนินงานของแพทยสภาว่าทำอะไรบ้าง ใช้งบที่ได้เก็บจากสมาชิกแพทย์และที่รัฐอุดหนุนไปเพื่อการใดอย่างไร รศ.นพ.สมชาย อมรโยธิน วิสัญญีแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำเสนอปัญหาที่แพทย์ถูกฟ้องเพิ่มมากขึ้น และรุนแรงขึ้น ยังคงไม่มีมาตรการแก้ไขอย่างไร



นพ.เทวัญ ธานีรัตน์ นำเสนอเรื่องร่างแก้ไขกฎหมาย พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ในลักษณะล๊อกสเปค ๒๑ ประเด็น พร้อมเสนอว่าวิชาชีพแพทย์ไม่ควรถูกข้อบังคับแพทยสภาให้ลดทอนความสามารถในศาสตร์ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยและเป็นมาตรฐาน นพ.วิษณุ ประเสริฐสม นำเสนอเรื่องแพทย์คลินิกเอกชนที่ประสบเหตุเดือดร้อนเนื่องจาก พรบ.สถานพยาบาลที่เพิ่งออกมาใช้บังคับไม่นานนี้ ต้องมีความเสี่ยงถูกคดีอาญาจากการประกอบการคลินิกเกี่ยวกับการบอกกล่าวบริการที่อาจถูกแปลเป็นการโฆษณา และต้องมีภาระเรื่องการขอนุญาตโฆษณา เสนอว่าควรมีกฎเกณฑ์การแจ้งข้อมูลคลินิกที่ชัดเจน ไม่ควรให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ อันเดือดร้อนทั้งการประกอบการและเจ้าหน้าที่พิจารณา นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นำเสนอผลการรวมปัญหาของแพทย์ วงการแพทย์ และแพทยสภา จากการรวบรวมกว่า ๒ เดือน ทางออนไลน์







และจากการนำเสนอความเห็นของแพทย์ที่เข้าประชุมในการประชุมวิชาการแพทยสภา ๕๐ ปี ในครั้งนี้เป็นเวลา ๓ วัน รวมถึงการทำโพลสำรวจความรับรู้ของแพทย์เรื่องร่างกฎหมายทางการแพทย์ พบว่ามีปัญหารุนแรง ได้แก่สวัสดิภาพของแพทย์ มีกรณีแพทย์ถูกทำร้ายที่ห้องฉุกเฉิน แพทย์ทำงานหนักด้วยชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน เช่นต่อเนื่องกว่า ๒๔,๓๖,๔๘,๗๒ ชั่วโมง ทำให้ล้า และผู้ป่วยต้องเสี่ยง หรือทำงานโดยไม่มีเวลาแม้จะรับประทานอาหารตามเวลาเช่นบุคคลที่พึงมี แพทย์ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม มีกฎหมายใช้บังคับมากและซ้อนกัน กับทั้งขณะนี้มีปัญหาเอ็นจีโอมีบทบาทในร่างกฎหมาย รวมถึงหน่วยราชการหลายหน่วยต่างออกร่างกฎหมาย โดยที่แพทย์ไม่ได้ทราบและมีความเห็น แต่จะเร่งรัดให้นำเสนอผ่านระบบอย่างรวดเร็ว อ้างว่าทำการแก้กฎหมายได้ง่ายในยุคนี้ ในร่าง พรบ.ที่กล่าวถึงกกันมากคือ ร่าง พรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ และ ร่างแก้ไข พรบ.วิชาชีพเวชกรรมนั้น มีผลโพลออกมาว่ากว่าร้อยละ ๙๖ ของแพทย์ที่ตอบโพล แจ้งว่า ไม่ทราบว่ามีร่างกฎหมายดังกล่าว และปัญหาระบบการฝึกอบรม ทางการแพทย์ต่างๆ รวมถึงระบบการเข้าสู่กรรมการแพทยสภา หรือราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ยังคงเป็นปัญหา ต้องมีการแก้ไข พร้อมทั้งโครงสร้างระบบบริหารของแพทยสภา มีปัญหามาก ไม่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่ เช่นไม่มีแพทยสภาจังหวัด ต่างจากสภาทนายความที่มีสภาทนายความจังหวัด ทั่วประเทศ และระบบบริการขาดประสิทธิภาพ สร้างปัญหาเดือดร้อนและความไม่พึงใจให้ผู้ป่วย ทำให้ส่งเสริมการไม่ไว้วางใจแพทย์ ผู้แทนแพทย์ปฏิบัติที่เป็นวิทยากร นพ.องอาจ วิจินธนาสาร ได้เสนอน่าคิดว่า ปัญหาของแพทย์ ที่มีมากมาย เป็นเพราะว่าองค์กรของแพทยสภา ยังขาดความใส่ใจในปัญหาของแพทย์หรือไม่ รวมถึงเหตุเพราะ ๕๐ ปี แพทยสภาไม่เคยมีการพูดคุยในลักษณะนี้กับสมาชิกแพทย์ แพทย์ขาดช่องทางที่จะนำเสนอปัญหาให้ได้รับการแก้ไข ปัญหาแพทย์จึงสะสม มีข้อสรุปเบื้องแรก คือ การยับยั้งร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับแพทย์ซึ่งแพทย์ยังไม่ได้รับรู้และมีความเห็น เช่น ร่าง พรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ซึ่งเสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่าง แก้ไข พรบ.วิชาชีพเวชกรรม รวมถึงร่างข้อบังคับแพทยสภาเกี่ยวกับการเขียนให้อำนาจกรรมการแพทยสภาในการระงับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่สอบสวนข้อเท้จจริงงก่อน ตามที่ประชุมเสนอ ไม่มีผู้ใดคัดค้านการที่ต้องให้แพทย์ทราบเรื่อง ร่างกฎหมาย มีเพียงแพทย์ท่านหนึ่งเสนอว่าควรเร่งรัดเพราะโอกาสขณะนี้เหมาะสมกับการแก้ไขกฎหมาย ล่าช้าไปอาจเกิดผลเสีย และ ในการนี้ ช่วงบ่าย มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายเสนอว่า ในร่างวิธีพิจารณาคดีการแพทย์นั้น ไม่พบว่าเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ กับทั้งที่ประชุมมีผู้เสนอว่ามีผลร้ายอีกด้วย เช่น ขยายอายุความไป ๓ ปี มากกว่าเดิม โดย ท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ เสนอว่า ยังไม่มีการวิจัย และทำการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ จะทำให้พบปัญหาที่ไม่มีทางออก พร้อมชี้ปัญหาแพทย์ที่พบมากมาย ส่วนหนึ่งเป็นอาการป่วยของระบบกฎหมายในประเทศ สรุปให้ยับยั้งร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวกับการแพทย์ทั้งหมด พิจารณาจัดทำประมวลกฎหมายการแพทย์หและสาธารณสุข โดยต้องมีการวิจัยกฎหมาย และ ให้แพทย์ได้ทราบเรื่อง สำหรับกฎหมายที่ออกโดยแพทย์ไม่มีส่วนรู้และเสนอ มีเพียงกรรมการแพทยสภาเข้าไปประชุมสั้นๆ โดยไม่เต็มประสิทธิภาพนั้น โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่ให้มีโทษอาญาเกี่ยวกับการโฆษณาสถานพยาบาลนั้น




และที่สำคัญยิ่ง คือข้อเสนอของ ศ.จรัญ ภักดีธนากุล เสนอว่าเพื่อประโยชน์ของสังคม แพทย์ควรได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย ไม่ต้องคดีอาญา เว้นแต่จงใจหรือประมาทร้ายแรง และมีข้อเสนออีกมาก ให้เสนอร่างแก้ไขไปทั้งหมดรวมปัญหาแพทย์ แพทยสภา ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการแพทยสภาทราบและแก้ไข และให้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการแพทย์สภา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“แฟคทอรี่ ยาร์ด กรุ๊ป” สยายปีก เปิดสาขาใหม่ที่ลำลูกกา

29 เมย. 66 สมาชิกสโมสรโรตารีพระปกเกล้าธนบุรีนำคณะซ่อมแซมอาคารเรียนและมอบสิ่งของอุปกรณ์การเรียนให้กับ รร.วัดลำบัวลอย

นักวิจัย มจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชน รุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ...