ประเทศไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN–Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue)

ประเทศไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN–Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue) ขานรับการผสานความร่วมมือสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก

วันนี้ (27 ตุลาคม 2566) เวลา 19.00 น. ณ โรงแรม Tokyo Prince 
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. นำคณะเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองก่อนการประชุมพิเศษรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue) โดยมีผู้นำระดับสูงของชาติอาเซียนและญี่ปุ่นให้เกียรติเข้าร่วมงานฯ ดังนี้..

1. ดร.เกา กึมฮวน เลขาธิการอาเซียน จากสํานักเลขาธิการอาเซียน
2. นางสาวตูเตียตี อับดุล วาฮับ ปลัดกระทรวงทรัพยากรขั้นพื้นฐานและการท่องเที่ยว จากบรูไนดารุซสลาม
3. นายทิศ จันทรา ปลัดกระทรวงท่องเที่ยว จากกัมพูชา
4. นายซันดิอากา ซาลาลุดดิน อูโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากอินโดนีเซีย
5. นางสวนสวรรค์ วิยะเกต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว จสก สปป.ลาว
6. นายไครุล เฟอร์ดาอุส บิน อัคบาร์ กัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรม จากมาเลเซีย
7. นายฟรานซิสโก กัลบูอาดี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม จากติมอร์เลสเต
8. นายไซโต เท็ตสึโอะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว จากญี่ปุ่น 
9. นายนัวร์ อาหมัด ฮามิด CEO PATA

อนึ่ง การประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Tourism Ministers’ Special Dialogue) กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรม Tokyo Prince ภายใต้หัวข้อ “อนาคต 50 ปีข้างหน้าของอาเซียน-ญี่ปุ่น: การออกแบบวิถีสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกัน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งมิตรภาพและความร่วมมือ อาเซียน-ญี่ปุ่น
ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้จัดให้มีการหารือใน 2 ประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ (2) การแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น โดยรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน และผู้แทนจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น ฯลฯ จะร่วมหารือและแสดงความคิดเห็นภายใต้ประเด็นหลักด้านการท่องเที่ยว (1) และ (2) ดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในระดับภูมิภาค และแสดงให้นานาชาติรับรู้ว่าภูมิภาคของเราให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“แฟคทอรี่ ยาร์ด กรุ๊ป” สยายปีก เปิดสาขาใหม่ที่ลำลูกกา