คณะสมาชิกสื่อมวลชนและนักท่องเที่ยวกว่า 100 คน เยือนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งใน จ.หนองคาย และ จ.เลย

นางวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว (ช.ส.ท.) 

..


เปิดเผยว่า ช.ส.ท.จัดทริป "เที่ยวอีสานแบบ New Normal จากหนองคายสู่เชียงคาน" ระหว่างวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2565 โดยนำคณะสมาชิกสื่อมวลชนและนักท่องเที่ยวกว่า 100 คน เยือนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งใน จ.หนองคาย และ จ.เลย พร้อมทั้งชมวิวแม่น้ำโขงตลอดเส้นทางท่องเที่ยว และชม Sky Walk แลนด์มาร์คที่เที่ยวแห่งใหม่ของภาคอีสานที่กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว 

ในการนี้ นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นางธนพร พูลเพิ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงาน ททท. สำนักงานอุดรธานี และนายวีระ เจริญร่าง นายสถานีรถไฟหนองคาย ให้เกียรติเดินทางมาให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนและนักท่องเที่ยวของ ช.ส.ท. ในเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ณ จ.หนองคาย

การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้ ช.ส.ท. ได้ปฏิบัติตามมาตรการ New Normal อย่างเคร่งครัด เดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยรถไฟรุ่นใหม่ไป จ.หนองคาย เข้าชมวัดโพธิ์ชัย, ชุมชนบ้านเดื่อ, สกายวอล์ค วัดหินหมากเป้ง และสกายวอล์ค วัดผาตากเสื้อ ส่วนที่ อ.เชียงคาน จ.เลย คณะ ช.ส.ท. เดินทางไปชมวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน พักที่ The Camp Chiangkhan, ชมวิวพระใหญ่ภูคกงิ้ว สกายวอล์ค เชียงคาน, เยือนหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ, พิธภัณฑ์ไทดำ, แก่งคุดคู้, ถนนคนเดินเชียงคาน ร้านเฮือนหลวงพระบาง และภูป่าเปาะ เดินทางกลับด้วยสายการบินแอร์เอเชีย

.วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหนองคาย เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสีสุก ..








.
"บ้านเดื่อ” จากหมู่บ้านเกษตรริมโขง สู่หมู่บ้านท่องเที่ยวชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทั้งการประมง การเกษตร ปลูกพืชผักแบบขั้นบันไดตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาทางชุนชนได้รับการสนับสนุนจากโครงการประชารัฐและสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย เข้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ทำให้คนในชุมชนได้รวมตัวกันขึ้นจนกลายเป็น “แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านเดื่อ” 

.












..หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ ตั้งอยู่ที่ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย   ชาวไทดำอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2448 แล้วมาตั้งหมู่บ้านอยู่ที่นี่ และที่นี่เลยกลายเป็นศูนย์วัฒนธรรมสำคัญของชาไทดำไปในที่สุด โดยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเชียงคาน และชาวบ้าน จัดสร้างให้ที่นี่เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวไทดำนั่นเอง.

..













...วัดหินหมากเป้ง...

 บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท  อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

  แต่เดิมเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของหลวงปู่เทสก์ พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย..

.




















..
วัดผาตากเสื้อ มองจากบนผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทยลาว
นอกจากนั้นยังมีอุโบสถที่สวยงามและทางบันไดที่สวย ด้านบนสามารถรับชมวิวได้ด้วยนอกจากนั้นมีการสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิธาตุของอริยสงฆ์ เช่น หลวงปู่มั่นไว้ด้วย
 ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์สามารถเดินบนสกายวอร์คเพื่อชมธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามได้ครับ
..








..วัดพระพุทธบาทภูควายเงินโบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง ในอำเภอเชียงคานจังหวัด จากหลักฐานที่บันทึกประวัติความเป็นมาของวัด ได้ระบุไว้ว่าวัดพระพุทธบาทภูควายเงินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2300 เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาสูงจากระดับทะเลปานกลาง 400 เมตร

..






..แลนด์มาร์คของ จังหวัดเลย “สกายวอล์คเชียงคาน” หรือ "สกายวอล์คภูคกงิ้ว" อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ความสูงกว่าระดับแม่น้ำโขงกว่า 80 เมตร เดินที่ทำด้วยกระจกใสชนิดพิเศษ พื้นกว้าง 2 เมตร ยาวกว่า 100 เมตร มีตะแกรงเหล็กรองรับ และมีพระใหญ่คกงิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นทอง สูงกว่า 19 เมตร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของแลนด์มาร์คนี้ สามารถมองเห็นแม่น้ำเหืองที่ไหลผ่านมาบรรจบแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่กั้นชายแดนไทย-ลาว เป็นอีกหนี่งจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยว เมื่อมาเที่ยวจังหวัดเลย.. 
..










   แก่งคุดคู้ สถานที่ตากอากาศของคนเชียงคาน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่ชื่นชมในความงามตามธรรมชาติ 

วิวของลำนำโขงที่กว้างขวางสุดลูกหูลูกตา ทอดตัวยาวขนานไปสองฝั่งไทย-ลาว และในช่วงที่น้ำลดจะเห็นเกาะแก่งน้อยใหญ่ต่างๆ โดยมีภูเขาลูกยักษ์ที่ชื่อ “ภูควายเงิน” ตั้งตระหง่านเป็นฉากหลังอยู่ฝั่งตรงข้ามอย่างลงตัว..
.





ภูป่าเปาะ ฟูจิเมืองไทย..

.ตั้งอยู่ที่บ้านผาหวาย อำเภอหนองหิน เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นภูหอ ที่มีลักษณะเหมือนภูเขาไฟฟูจิที่ญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน และในช่วงฤดูหนาวสามารถมองเห็นทะเลหมอกรอบ ๆ ได้อย่างสวยงาม

ยอดภูป่าเปาะอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 910 เมตร เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็น ภูหอ ซึ่งมีลักษณะเหมือนภูเขาไฟฟูจิของประเทศญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจนและเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในฤดูหนาวสามารถมองเห็นทะเลหมอกที่สวยงามได้โดยรอบ นอกจากนี้ ยังมองเห็นภูกระดึง ภูหลวง ภูยอง ภูผาขวาง ภูค้อ-ภูกระแต สวนหินผางาม ภูผาม่าน จึงได้ชื่อว่า "พาโนราม่าเมืองเลย" นักท่องเที่ยวต้องจอดรถยนต์ไว้ที่ทำการของภูป่าเปาะ แล้วใช้บริการรถอีแต๊กท้องถิ่น ค่าบริการปริมาณคนละ 60 บาท ภูป่าเปาะไม่มีที่พักและไม่อนุญาตให้กางเต็นท์แต่บริเวณที่ทำการมีห้องน้ำและร้านอาหาร 
..




 















..ถนนคนเดินเชียงคาน
เชียงคาน เมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงสุดชายแดนไทย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่คงยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบประเพณี การใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ภาพบ้านเก่าๆที่เรียงรายติดกันอยู่ริมถนนชายโขง ดึงดูดใจ ให้นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายรุ่นต่างหลั่งไหลเดินทางกันมาที่นี่ บ้านเรือนที่เมืองเชียงคานจะแบ่งออกเป็นซอย เล็กๆ เรียกว่า ถนนศรีเชียงคาน ขนานคู่กันไปไปกับถนนใหญ่ซึ่งเป็นถนนสายหลัก เริ่มตั้งแต่ถนนศรีเชียงคาน ซอยที่ 1- 24 แบ่งเป็นถนนศรีเชียงคานฝั่งบนกับฝั่งล่างซึ่งชื่อซอยเหมือนกัน

            ถนนศรีเชียงคานฝั่งล่าง คือ ถนนเส้นที่เต็มไปด้วยบ้านไม้เก่า ที่พัก โฮมสเตย์ ร้านอาหาร และร้านค้า ซึ่งถนนในเส้นนี้จะเรียกว่า "ถนนชายโขง" ซึ่ง ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยว นิยมมาปั่นจักรยานชมบรรยากาศถ่ายรูปเล่น ชมบ้านไม้สมัยเก่า แต่ก็มีบางส่วนเป็นตึกแถวสร้างใหม่ ซึ่งทาง เทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกสร้าง เพราะต้องการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมบริเวณถนนสายนี้ให้เป็นบ้านไม้ทั้งหมดเป็น การรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน แต่ถึงแม้บ้านไม้เก่าๆ ถึงแม้ถูกดัดแปลงให้เป็นร้านขายของ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บ้านพักโฮมสเตย์ไปแล้วส่วนหนึ่ง.

























 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“แฟคทอรี่ ยาร์ด กรุ๊ป” สยายปีก เปิดสาขาใหม่ที่ลำลูกกา

29 เมย. 66 สมาชิกสโมสรโรตารีพระปกเกล้าธนบุรีนำคณะซ่อมแซมอาคารเรียนและมอบสิ่งของอุปกรณ์การเรียนให้กับ รร.วัดลำบัวลอย

นักวิจัย มจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชน รุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ...