สดช.จัดเวทีแถลงผลการศึกษาของโครงการศึกษาและพัฒนาทางสังคมและดิจิทัล...

สดช. จัดเวทีแถลงผลการศึกษาของโครงการศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft Skills) และทักษะดิจิทัล (Digital Skills) เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคต ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

วันนี้ (3 พฤศจิกายน 2566) ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาของโครงการศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft Skills) และทักษะดิจิทัล (Digital Skills) เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคต ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จัดการประชุมดังกล่าวขึ้น เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการฯ ประกอบด้วยผลการศึกษาทักษะทางสังคมที่จำเป็นต่อการพัฒนาในอนาคต มาตรฐานทักษะวิชาชีพที่ได้รับการทบทวน และแผนที่นำทางปัญญาประดิษฐ์ โดยการประชุมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมวิชาชีพ และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก


ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ปัจจุบันการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลทำให้รูปแบบการทำงาน ความต้องการทักษะของแรงงาน และกำลังคนในองค์กรเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลไม่ได้เป็นเพียงแค่การจัดหาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในองค์กรเท่านั้น แต่บุคลากรที่ทำงานในองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นบุคลากรในองค์กรที่มีทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะการคิดแบบเติบโต ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ผลการศึกษาของโครงการ พบว่า ทักษะทางสังคมที่มีความจำเป็นสำหรับรองรับการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคต ประกอบด้วย 5 ทักษะหลัก 21 ทักษะย่อย ได้แก่ (1) ทักษะภาวะผู้นำ (Leadership) (2) ทักษะการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) (3) ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) (4) ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และ (5) ทักษะทีมงานและความร่วมมือ (Teamwork) สอดคล้องกับผลการศึกษาของ World Economic Forum (รายงาน Future of Jobs Report 2023) ที่วิเคราะห์ว่าใน 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2566-2570) กลุ่มทักษะที่จะมีความจำเบการทำงานในอนาคตมากที่สุดคือ กลุ่มทักษะได้ปัญญา ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และทักษะเทคโนโลยี (คิดเป็น ร้อยละ 72.2, 71.6, 67.7 ตามลำดับ) ชี้ให้เห็นว่าหากบุคลากรที่ทำงาในโลกยุคดิจิทัลมีทักษะทางสังคมที่ดีควบคู่กับทักษะทางเทคโนโลยีจะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้องค์กรเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลได้อย่างประสบความสำเร็จ

นายภุชพงค์ โนดไธสง กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สดช. ได้จัดทำมาตรฐานทักษะวิชาชีพ ICT มาอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันมีทักษะวิชาชีพรวมจำนวนกว่า 11 วิชาชีพ และมีมาตรฐานวิชาชีพด้านปัญญาประดิษฐ์เป็นมาตรฐานล่าสุด จากความสำคัญของทักษะทางสังคม สดช. จึงได้ดำเนินงานโครงการศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคม (Soft Skills) และทักษะดิจิทัล (Digital Skills)
เพื่อรองรับการพัฒนาแห่งอนาคต ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศขึ้น เพื่อศึกษาทักษะทางสังคมที่จำเป็นในยุคดิจิทัลและกำหนดคำจำกัดความของทักษะทางสังคมทั้งทักษะหลักและทักษะย่อย พร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้นบนแพลตฟอร์ม Thai MOOC เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม โดยผู้สนใจสามารถเข้ารับการอบรมได้ฟรี ผ่านทาง https://softskills.onde.go.th หรือ https://thaimooc.org/taxonomy/publisher/onde ทั้งนี้ผู้อบรมที่ทำแบบทดสอบครบถ้วน จะได้รับประกาศนียบัตรจากทาง Thai MOOC และวุฒิบัตรรับรองระดับทักษะทางสังคมจากทาง สดช.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“แฟคทอรี่ ยาร์ด กรุ๊ป” สยายปีก เปิดสาขาใหม่ที่ลำลูกกา